“พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability)
หัวใจของการจัดงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024
“เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน” ถือ เป็นเรื่องที่ตอกย้ำ และกระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมทำให้เราและโลกได้ไปต่อ เช่นเดียวกับการจัดงาน Sustainability Expo 2024 (SX 2024) มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” (Sufficiency for Sustainability) ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 แล้ว..แต่หัวใจหลักของการจัดงานในโซนแรก ไม่เปลี่ยนแปลงไป นั่นก็คือ SEP Inspiration หรือ Sufficiency Economy Philosophy (SEP) หรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในปีนี้ประกอบด้วยหลากหลายนิทรรศการ จาก หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ ตลอดจนภาคประชาชน มานำเสนอผลงานและแนวคิด ในโซนนี้ เริ่มจาก
-
มูลนิธิชัยพัฒนา กับ 9 เรื่องราว ตัวอย่างความสำเร็จ สู่ "ชัยชนะแห่งการพัฒนา" (9 Success Stories of "Victory through Development ) นิทรรศการตัวอย่างการพัฒนาที่ครอบคลุม 3 มิติ ที่ประสบความสำเร็จเป็น "ชัยชนะแห่งการพัฒนา" ได้แก่
-
มิติสุขภาพ สะท้อนจากสุขภาพกายดี จิตใจแข็งแรง และความมั่นคงทางอาหารของคนในชาติ นำสนอผ่านโครงการที่ประสบความสำเร็จได้แก่:
-
ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ: เมล็ดพันธุ์ผักปลอดภัยพระราชทานแก่ชุมชนและผู้ประสบภัย สู่ความยั่งยืนด้านอาหารของประเทศ
-
ศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานบ้านหนองชะลาบ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก: ศูนย์ผลิตพันธุ์ไก่และพันธุ์สัตว์เพื่อพระราชทานแก่ราษฎรและโรงเรียนที่ห่างไกล ได้มีอาหารโปรตีนบริโภค และเพื่อสุขภาพของเด็กนักเรียนอันเป็นอนาคตของชาติ
-
ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น จังหวัดเชียงราย: ต้นทางผืนป่า ปลายทางน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ก่อเกิดน้ำมันบริโภคคุณภาพดี เพื่อคนไทย
-
มิติด้านสิ่งแวดล้อม ที่สะท้อนผ่านโครงการต้นแบบ คน...ดิน...น้ำ...ป่า และสิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ดูแลซึ่งกันและกันได้แก่
-
ศูนย์เรียนรู้ด้านหม่อนไหมแบบครบวงจร ของมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดชัยภูมิ: เพิ่มคุณค่าสิ่งเหลือใช้จากธรรมชาติควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม สู่การสรรค์สร้างสีสันบนผืนผ้าไหมเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของไทย
-
โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี: พลิกฟื้นผืนป่าสุดท้ายด้วยชุมชนสู่แหล่งเรียนรู้ที่ยั่งยืน
-
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี: แหลมผักเบี้ย ระบบบำบัดน้ำเสียและกำจัดขยะชุมชนโดยใช้ธรรมชาติ คืนสมดุลระบบนิเวศที่สะท้อนผ่านโครงการต้นแบบ คน...ดิน...น้ำ...ป่า และสิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ดูแลซึ่งกันและกัน
-
มิติทางสังคม ตัวอย่างความร่วมมือกันอย่างบูรณาการ ด้วยการพัฒนาโดย “ระบิดจากข้างใน” ก่อเกิดเป็นความเข้มแข็งของชุมชน อยู่ดี กินดี มีความสุข ประกอบด้วย
-
โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย (บ้านทุ่งรัก) อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา: จากผู้ประสบภัยสึนามิ เกาะพระทอง จังหวัดพังงา สู่ชีวิตใหม่ ชุมชนใหม่ สำเร็จได้ด้วยการพัฒนาตามหลักภูมิสังคม
-
ภัทรพัฒน์: ผลผลิตจากการพัฒนา สู่ความยั่งยืนทางอาชีพ
-
โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม: การศึกษาทางเลือก เพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ อย่างยั่งยืน
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ได้นำเสนอแนวคิดรวมถึงแนวทางปฏิบัติที่นำสู่ความยั่งยืน อาทิ
-
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับแนวคิด ความยั่งยืน…เรื่องของทุกคน
Sustainability is Us มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ น้อมนำแนวพระราชดำริในการหยุดวงจรแห่งความทุกข์ยากมาใช้ในการดำเนินงานพัฒนาอย่างบูรณาการที่มีคนเป็นแก่นกลาง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนชีวิตคนที่ขาดโอกาสให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยได้นำเสนอผ่าน 3 แนวคิดหลัก ได้แก่
-
คนอยู่ได้ ป่าก็อยู่ได้
-
โลกอยู่ได้ คนถึงจะอยู่ได้
-
โลกจะอยู่ได้ เราทุกคนต้องร่วมมือกัน
-
สำนักงานกปร.
สืบสาน รักษา ต่อยอด: การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างยั่งยืน
สำนักงาน กปร. น้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “สืบสาน รักษา ต่อยอด” มาเชื่อมโยงต่อยอดกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้คณะกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยครอบคลุมในมิติต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมความยั่งยืน และอื่น ๆ นำมาจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้อง เหมาะสมกับภูมิสังคมของแต่ละท้องถิ่น
-
มูลนิธิอุทกพัฒน์ และ สถาบันสารสนเทศและทรัพยากรน้ำ (สสน.)
นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสำรวจ ตรวจ วัด และบริหารจัดการน้ำในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมการรับมือกับภัยพิบัติทางน้ำ เช่น เทคโนโลยีสำรวจและตรวจวัด สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที อากาศยานไร้คนขับช่วยสนับสนุนภารกิจสำรวจพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง เพื่อสร้างข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายและข้อมูลแผนที่สามมิติ เรือสำรวจความลึกอัตโนมัติสำรวจหาค่าระดับความลึกแหล่งน้ำ ระบบโทรมาตรอัตโนมัติเพื่อตรวจวัดข้อมูลสภาพอากาศ ปริมาณฝน และระดับน้ำ ระบบสำรวจทางน้ำอย่างง่ายใช้ในการสำรวจสภาพน้ำ ระดับความลึกของแหล่งน้ำขนาดเล็ก และ รถสำรวจภูมิประเทศด้วยระบบ MMS เพื่อจัดทำแบบจำลองภูมิประเทศสามมิติและผลิตแผนที่รายละเอียดถูกต้องสูง
ศาสนาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Religion for Sustainable Development)
นำเสนอหลักในการใช้หลักการทางศาสนา โดยสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์เป็นตัวตั้งของการพัฒนา ดังคำกล่าวที่ว่า "พัฒนาชาติให้เริ่มที่ประชาชน พัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ" จะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่ตัวเองก่อน โดยมีแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เน้น 5 องค์ประกอบหลัก (5P) ประชาชน (People) โลกของเรา (Planet) ความมั่งคั่ง (Prosperity) หุ้นส่วน (Partnership) สันติภาพ (Peace)
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานที่น่าสนใจอีกหลายหลากหน่วยงาน อาทิ กระทรวงมหาดไทย องค์การสหประชาชาติ World Bank ASEAN Centre for Biodiversity สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (The Cabinet Office of Japan) สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย ร่วมกับ หอการค้าไทย-สวีเดน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีข้อมูลที่น่าสนใจทั้งสิ้น
มาร่วมกันเปลี่ยนโลกใบนี้ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน มาพบคำตอบและกิจกรรมมากมายที่งานSustainability Expo 2024 GOOD BALANCE, BETTER WORLD ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) โซนนิทรรศการหลัก ชั้น G , SX FOOD FESTIVAL, SX MARKETPLACE, SX KIDS ZONE ชั้น LG งานนี้เข้าชมฟรี !!
พิเศษ !! เพียงดาวน์โหลดแอป SX Application ลงทะเบียนแล้วเช็คอิน และร่วมจุดกิจกรรมในงาน สะสมคะแนนแล้วรับของที่ระลึกฟรี