cover_image_desktop
pin Better World
รู้หรือไม่? ป่าชายเลนของโลกเสี่ยงต่อการล่มสลายในปี 2050
ดูข่าวสารทั้งหมด

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature – IUCN) ได้เปิดเผยผลการสำรวจครั้งล่าสุดว่า ระบบนิเวศป่าชายเลนครึ่งหนึ่งของโลกมีความเสี่ยงที่จะล่มสลาย เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

*IUCN Red List คือ การประเมินสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในโลก

Image from iucnrle.org

Image from iucnrle.org

“ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติชายฝั่ง การจัดเก็บและการกักเก็บคาร์บอน การสนับสนุนด้านการประมง ซึ่งการสูญเสียป่าชายเลนถือเป็นหายนะต่อธรรมชาติและผู้คนทั่วโลก นั่นคือเหตุผลที่การประเมินนี้มีความสำคัญมาก โดย Red List of Ecosystems ได้มอบแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถฟื้นฟูการสูญเสียป่าชายเลนและปกป้องระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้ในอนาคต อีกทั้งยังช่วยปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ รับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก” Angela Andrade ประธานคณะกรรมาธิการ IUCN ด้านการจัดการระบบนิเวศกล่าว

การศึกษาครั้งนี้ได้จำแนกระบบนิเวศป่าชายเลนใน 36 ภูมิภาคทั่วโลก (แบ่งพื้นที่ที่มีป่าชายเลนระบุไว้ในแผนที่ด้านล่าง) และประเมินภัยคุกคามและความเสี่ยงของการล่มสลายในแต่ละภูมิภาค โดยความร่วมมือกันระหว่าง IUCN และผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 250 คนใน 44 ประเทศ จากสถาบันวิจัยต่างๆ รวมถึง IUCN Commission on Ecosystem Management, IUCN Species Survival Commission และ Global Mangrove Alliance

Image from iucnrle.org

ป่าชายเลนมักถูกคุกคามจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อรองรับการเติบโตของเมือง ภาวะมลพิษ และการสร้างเขื่อน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับระบบนิเวศ และหากไม่มีการดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น พื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 25% ของโลกอาจจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพื้นที่เหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะพังทลาย จนเกิดการสูญเสียมากมาย เช่น

  • คาร์บอนที่ป่าชายเลนช่วยกักเก็บไว้กว่า 1.8 พันล้านตัน จะถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก (17% ของคาร์บอนทั้งหมดในปัจจุบันที่เก็บไว้ในป่าชายเลน) 
    *ปัจจุบันมีมูลค่าอย่างน้อย 13 พันล้านดอลลาร์ ตามราคาในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ และคิดเป็นต้นทุนต่อสังคมเท่ากับ 336 พันล้านดอลลาร์ โดยอิงตามต้นทุนทางสังคมคาร์บอน
  • เกิดความสูญเสียมากมายต่อสิ่งมีชีวิตกว่า 2.1 ล้านชีวิต และทรัพย์สินกว่า 36 พันล้านดอลลาร์เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมชายฝั่ง
  • ผลผลิตที่ได้รับจากการประมงชายฝั่งจะลดลงอย่างมาก (14% ของการประมงในปัจจุบันได้รับประโยชน์จากป่าชายเลน)

ส่วนประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนมากเป็นอันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ไม่เพียงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในฐานะแหล่งอาหาร ยา พลังงาน และการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยรอบ แต่ยังเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่สำคัญเพื่อลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

ทั้งนี้ วิธีเดียวที่จะหลีกเลี่ยงการล่มสลายได้ คือร่วมมือกันฟื้นฟู และจำกัดอุณหภูมิทั่วโลกไม่ให้ทะลุเกินเป้าหมายที่สหประชาชาติร่วมกันกำหนด เปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) เพื่อการคุ้มครอง ป้องกัน ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศ ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง : iucn.org

เตรียมตัวมาพบคำตอบ และกิจกรรมมากมายเพื่อโลกด้วยกันที่ :

SUSTAINABILITY EXPO 2024 : GOOD BALANCE, BETTER WORLD 

วันที่ 27 กันยายน - 6 ตุลาคม 2567 
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)
 
ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมดีๆ เพื่อความยั่งยืนตลอดทั้งปีได้ที่ 

www.sustainabilityexpo.com 

Facebook: Sustainability Expo

SX Application สะสมคะแนนทุกกิจกรรมของ SX ไว้แลกของที่ระลึกมากมาย 
ดาวน์โหลดเลยที่นี่ 
iOS AppStore : https://apps.apple.com/us/app/sustainability-expo/id1640414525
Play Store : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sx2022 

Add Line: @sxofficial หรือ คลิก https://lin.ee/asrYXgE

 

idownload
gplay
istore