ส่งผลงานแบบร่างแนวคิดผ่านระบบออนไลน์
0
Days
00
Hours
00
Minutes
00
Seconds
กดส่งผลงาน
รางวัลการประกวด    
ผู้ผ่านเข้ารอบคัดเลือกทุกชิ้นงานจะได้รับใบประกาศนียบัตร

รางวัลสำหรับผู้เข้ารอบตัดสิน ได้แก่
    เงินรางวัล ประเภทผลงาน
    ศิลปะสองมิติ (2D)
  • รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 15,000 บาท
  • รางวัลที่ 2 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 12,000 บาท
  • รางวัลที่ 3 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท
    เงินรางวัล ประเภทผลงาน
    ศิลปะสามมิติ (3D)
  • รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท
  • รางวัลที่ 2 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 25,000 บาท
  • รางวัลที่ 3 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 20,000 บาท
หมายเหตุ: ชิ้นงานส่งเข้าประกวดที่ทำการผลิตจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ผลงานถือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จัด และจะถูกจัดแสดง ณ SX Space ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2568 เมื่อครบกำหนดแล้วหากผู้ผลิตผลงานต้องการนำชิ้นงานกลับ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการขนย้ายด้วยตนเอง
โครงการประกวดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบ
แนวคิด น้ำแห่งชีวิต
Water of Life
จุดประสงค์
โครงการประกวดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบ ตั้งต้นจากวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน และนำกลับมาสร้างสรรค์ ให้มีคุณค่า สร้างประโยชน์ได้ทั้งในเชิงสุนทรียภาพทางด้านมุมมองศิลปะ รวมไปถึงการสร้างออกแบบ เพื่อสร้างต้นแบบอุปกรณ์เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งต่างๆ ผ่านการประกวด 2 รูปแบบ ผลงานศิลปะ และงานออกแบบแบบสองมิติ (2D) และผลงานศิลปะ และงานออกแบบแบบสามมิติ (3D)

ทั้งนี้ ผลงานต้องสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ และสามารถสร้างประโยชน์ได้ตามประเภทของงานที่สร้างสรรค์หรือออกแบบ โดยมีเจตนารมณ์ที่ต้องการส่งต่อความคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างแรงบันดาลใจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพื่อสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมโลก ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก”
ความเป็นมา
โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้งานศิลปะและผลงานที่สร้างจากการออกแบบในรูปแบบต่างๆ สร้างแรงบันดาลใจในการนำสิ่งเหลือใช้ที่ทุกคนคิดว่าเป็นขยะ นำกลับมามีชีวิตใหม่ด้วยการสร้างสรรค์ให้มีคุณค่า และสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม และถือเป็นเครื่องมือ เป็นตัวอย่างอันเป็นรูปธรรมที่ช่วยสื่อสารเรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และการนำกลับไปใช้ซ้ำ (Reuse) เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเป็นแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไปในอนาคต
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมการประกวด

นักเรียน นิสิต นักศึกษา ไม่จำกัดสัญชาติ
สามารถเดินทางมาร่วมการแข่งขันรอบตัดสิน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ระหว่างวันที่ 25 - 26 กันยายน 2568
สามารถลงสมัครเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม
(กลุ่มละไม่เกิน 3 คน)

หลักเกณฑ์
  • การออกแบบร่างสื่อถึงแนวคิด “น้ำแห่งชีวิต: Water of Life” โดยสะท้อนให้เห็นถึงความสร้างสรรค์ เพื่อสร้างค่า และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสมดุลโลก
  • ผลงานศิลปะต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ไม่เคยถูกเผยแพร่หรือได้รับรางวัลมาก่อน และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคล หรือบริษัทอื่นใด
  • วัสดุที่ใช้จะต้องเป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากชีวิตประจำวัน และที่ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • วัสดุที่ใช้ทุกชนิดจะต้องไม่นำเสนอตราสินค้า หรือนำเสนอเป็นโฆษณาแฝง
  • ชิ้นงานจะต้องมีขนาดไม่เกินที่กำหนด
    • ผลงานศิลปะแบบสองมิติ (2D): 100 x 100 x 20 ซม. (กว้าง x ยาว x ความลึก)
    • ผลงานศิลปะแบบสามมิติ (3D): 150 x 150 x 200 ซม. (กว้าง x ยาว x สูง)
  • ผลงานสำเร็จต้องมีความแข็งแรงทนทาน สามารถติดตั้งและจัดแสดงกลางแจ้งได้อย่างน้อย 12 เดือน
ระยะเวลาโครงการ
รอบแรก
(ส่งแนวคิดผลงาน)
ส่งผลงานแบบร่างแนวคิดผ่านระบบออนไลน์ ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2568 เวลา 23.00 น.
  • ไฟล์ภาพร่างแบบ (ร่างด้วยมือ หรือ กราฟิกคอมพิวเตอร์) ของผลงานที่ต้องการสร้างสรรค์ (นามสกุล .jpg หรือ .pdf)
  • คำบรรยายประกอบความยาวไม่เกิน 300 คำ (แนวคิด แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ และวัสดุเหลือใช้ที่จะใช้)
รายชื่อผู้เข้าชิงชนะเลิศ 10 คน (กลุ่ม) สุดท้ายของแต่ละประเภท (2 มิติ และ 3มิติ) ประกาศผลทาง Website: www.sustainabilityexpo.com และ Facebook: www.facebook.com/SX.SustainabilityExpo ในวันที่ 29 สิงหาคม 2568
รอบชิงชนะเลิศ
(ผลิตชิ้นงานจริง)
  • ผู้ผ่านเข้ารอบ 10 คน (กลุ่ม) สุดท้าย ของแต่ละประเภท (2 มิติ และ 3 มิติ)
  • จัดทำชิ้นงานจริงตามแบบร่างระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 24 กันยายน 2568
  • จัดส่งชิ้นงานที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์ ถึงศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 25 กันยายน 2568 เวลา 9.00 - 17.00 น. เพื่อเตรียมจัดแสดงและตัดสินรอบสุดท้าย
  • ผู้ผ่านเข้ารอบต้องนำเสนอผลงานให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลงคะแนนตัดสินผู้ชนะในรอบชนะเลิศด้วยตัวเอง ในงาน Sustainability Expo 2025 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 26 กันยายน 2568
  • ผู้ผ่านเข้ารอบจะได้รับสนับสนุนค่าใช้จ่ายการผลิตชิ้นงานและการขนย้ายตามประเภทชิ้นงาน (ชิ้นงาน 2 มิติ ได้รับเงินสนับสนุนชิ้นละ 1,500 บาท ชิ้นงาน 3 มิติ ได้รับเงินสนับสนุนชิ้นละ 2,500 บาท
การตัดสิน
รอบแรก
(ส่งแนวคิดผลงาน)
ตัดสินจากคะแนนรวมของคณะกรรมการคัดเลือก พิจารณาจากร่างแบบของชิ้นงาน และคำบรรยายประกอบร่างแบบ โดยอิงตามเกณฑ์การคัดเลือกดังต่อไปนี้
  • ความคิดสร้างสรรค์
    แสวงหาแนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากชีวิตประจำวัน ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะสามารถนำกลับมาใช้ได้ เช่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์เก่า มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน
  • การจัดวางองค์ประกอบโดยรวม
    นำหลักการจัดวางองค์ประกอบของการออกแบบ มาใช้อย่างเหมาะสม กลมกลืน ตามหลักการจัดองค์ประกอบทางศิลป์ทั้ง 5 ข้อ ได้แก่ สัดส่วน (Proportion) ความสมดุล (Balance) จังหวะลีลา (Rhythm) จุดสนใจ (Emphasis) และเอกภาพ (Unity)
  • วัสดุที่ใช้ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
    วัสดุที่ใช้จะต้องเป็นวัสดุใช้จริง ไม่ใช่การซื้อขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างสรรค์ผลงานโดยเฉพาะ ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาสร้างสรรค์ผลงานโดยภาพรวม 90% ต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (สามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งเหนี่ยวรั้ง ติดยึดที่มีส่วนประกอบทางเคมี หรือโลหะต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้ผลงานที่สร้างสรรค์สามารถสร้างประโยชน์ได้จริง) แต่ต้องไม่มีการตกแต่งด้วยสารเคมีที่จะสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ไม่มีการใช้สีสเปรย์ หรือทาสีเพิ่มเติมบนเศษวัสดุที่ใช้
  • การนำเสนอแนวคิดและการสื่อความหมาย
    สามารถนำเสนอแนวคิด วัสดุที่ใช้ และสื่อสารความหมายของชิ้นงาน ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย และชัดเจน
รอบชิงชนะเลิศ
(ผลิตชิ้นงานจริง)
ผลงานศิลปะที่ผลิตจนเสร็จสมบูรณ์จะติดตั้งภายในงาน Sustainability Expo2025 และจะได้รับการประเมินพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะ ในวันที่ 26 กันยายน 2568 โดยพิจารณาตามเกณฑ์การตัดสินในรอบแรก ร่วมกับ ความสำเร็จของการผลิตชิ้นงานอิงตามร่างแบบที่ส่ง ผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจริง ต้องคงรูปแบบตามแบบร่างอย่างน้อย 75% และผลงานสำเร็จมีความทนทานต่อการติดตั้งและจัดแสดงกลางแจ้งได้ ผลงานศิลปะต้องมีความทนทาน และสามารถติดตั้งและจัดแสดงกลางแจ้งได้อย่างน้อย 12 เดือน
คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน    
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณถาวร
    โกอุดมวิทย์
    ศิลปินแห่งชาติ ปี 2564 สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณญาญวิทย์
    กุญแจทอง
    อดีตคณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ศิลปิน BAB2024
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิกร
    คงคา
    หัวหน้าภาควิชาศิลปกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • คุณนิติกร
    กรัยวิเชียร
    ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ
  • คุณต้องใจ
    ธนะชานันท์
    ผู้อำนวยการคณะจัดงาน Sustainability Expo 2025
  • คุณวิรัช
    เมฆสัมพันธ์
    Managing Director Bangkok Art Biennale Management
  • คุณเจรมัย
    พิทักษ์วงศ์
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) และ ผู้ก่อตั้ง “บ้านและสวน Explorers Club”
ประกาศรายชื่อผู้ชนะและพิธีมอบรางวัล
ในวันที่ 26 กันยายน 2568 เวลา 13.00-14.00 น. (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลง)
ณ งาน Sustainability Expo 2025