

ด้วยการน้อมนำหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) มาเป็นแนวทางหลักของการจัดงาน SUSTAINABILITY EXPO
โซนนิทรรศการนี้ จะเปิดมิติคู่ขนาน ระหว่างโลกไร้สมดุล กับ โลกแห่งสมดุลที่ดี ผ่านมัลติมีเดียสุดล้ำ (Immersive multimedia) ที่ผสานความร่วมมือจากหลายภาคส่วน นำเสนอผลงาน Collaboration จาก ศิลปินผู้ใกล้ชิดและเข้าใจธรรมชาติ ผนวกกับกลุ่มสร้างแสงและเสียงร่วมสมัย ร่วมกับภาพมหัศจรรย์บนพื้นโลกจากตากล้องระดับโลก พร้อมเรียนรู้จากผู้บุกเบิกและผู้ปฏิบัติงานตัวจริงทั้งในวาระระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระดับประเทศ
TBA
มูลนิธิชัยพัฒนา
The Chaipattana Foundation
มีเป้าหมายที่สำคัญคือ ช่วยเหลือประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ คือ ชัยชนะแห่งการพัฒนา พบกับเรื่องราว “ก้าว...เพื่อชัยชนะแห่งการพัฒนา” จากพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องราวหลักการทรงงาน 27 ประการ นิทรรศการและสารคดีการพัฒนาทั้ง 9 ด้าน และการดำเนินงานของมูลนิธิ อาทิ โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด จ.จันทบุรี โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ จ.เพชรบุรี โครงการอุทยานการอาชีพชัยพัฒนา จ.นครปฐม เป็นต้น
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
Mae Fah Luang Foundation
นำเสนอประเด็นเรื่องคาร์บอนเครดิตจากป่าชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้เข้าร่วมงานที่เป็นบุคคลทั่วไป และเพื่อประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานพันธมิตรใหม่ๆ เข้าร่วมในระยะถัดไป มาเรียนรู้เกี่ยวกับ สัญญาณอันตรายของภาวะโลกร้อน คาร์บอนเครดิตช่วยลดโลกร้อนอย่างไร คาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ป่าชุมชนแหล่งกักเก็บคาร์บอนเครดิตที่สำคัญ ภาพรวมโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วมของธุรกิจและบุคคลทั่วไปที่จะสามารถร่วมลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มูลนิธิอุทกพัฒน์
Utokapat Foundation
นำเสนอองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำในทุกระดับ สู่การพัฒนาประเทศและสังคมไทยอย่างยั่งยืน อาทิ
- เทคโนโลยีสำรวจภูมิประเทศ ประกอบด้วย รถสำรวจแบบเคลื่อนที่ (Mobile Mapping System: MMS) อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles: UAV) เรือสำรวจความลึกอัตโนมัติตรวจวัดหลายความถี่ (Unmanned Surface Vessels: USV)
- ระบบโทรมาตรอัตโนมัติ ตรวจวัดปริมาณฝน ระดับน้ำ สภาพอากาศ ส่งข้อมูลอัตโนมัติ แจ้งเตือนภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที
- ThaiWater Mobile Application รู้น้ำ รู้อากาศ ทันใจทุกสถานการณ์
- การจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนอย่างยั่งยืน
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)
นำเสนอเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ *จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที* สร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ น้ำ และดิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีแนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำและมีฝนหลวงช่วยเหลือในยามแล้ง อนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีการสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกหญ้าแฝกในเขตพื้นที่ลาดชัน และสร้างโครงการชลประทานกักเก็บน้ำ รวมทั้งแนวทางในการบริหารจัดการใช้น้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภค เรียนรู้ โมเดลการทรงงาน 5 ชิ้นงาน ประกอบด้วย เรื่องดิน เรื่องการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ เรื่องการบริหารจัดการน้ำ เรื่องพลังงานทดแทน และ ทรงงานในพื้นที่ สะพานไม้บ้านเจาะบากง
ศาสนา และความยั่งยืน
Religion and Sustainability
นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาและความยั่งยืนผ่านมุมมองและการดำเนินงานและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ พระพรหมบัณฑิต. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) และพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี)
กระทรวงมหาดไทย
Ministry of Interior
นำเสนอเป็น 6 ส่วน ได้แก่
- ส่วนที่ 1: พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตราชกัญญา ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา หมู่บ้านยั่งยืน
- ส่วนที่ 2: กระทรวงมหาดไทยกับการเดินหน้าเคลื่อนเป้าหมาย ประชาชาติ
- ส่วนที่ 3: กิจกรรมการนำเสนอโครงการ/กิจกรรมตัวอย่างความสำเร็จในพื้นที่ในรูปแบบ Live Action นำเสนอโครงการต่างๆ ที่ตอบโจทย์ SDGs ในแต่ละข้อ การขับเคลื่อนโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกลไก 3 5 7 ได้แก่ โครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข หมู่บ้านรักษาศีล 5 โคก หนอง นา งานสาธารณสงเคราะห์ บวร. งานฟื้นฟู คลองสวย น้ำใส งานแก้จนในทุกพื้นที่ World Soil Day 2022 ชุมชน SDGs ผ้าไทยใส่ให้สนุกการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ผ้าไทย ปลูกพืชปลูกผักถังขยะเปียกลดโลกร้อน การจำหน่ายคาร์บอนเครดิต งาน OTOP Solar Rooftop และการปันสุขจากผลิตภัณฑ์โคก หนอง นา เป็นต้น
- ส่วนที่ 4: MOI War room
- ส่วนที่ 5: กิจกรรมมหาดไทยปันสุข
- ส่วนที่ 6: Mini Gallery จากภาพวาดในฝันสู่การปฏิบัติจริง
ซี อาเซียน
C asean
แพลตฟอร์มกลางในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงทุกคน เข้ากับภูมิภาคอาเซียนและอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ 3 ด้าน คือ 1) ด้านธุรกิจและความยั่งยืน 2) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถบุคลากร และ 3) ด้านศิลปะและวัฒนธรรม
- โครงการเด่นที่ ซี อาเซียน เป็นผู้จัดทำ เชื่อมโยงและสร้างความร่วมมือ ผ่าน 3 ด้านหลัก
- ทำเนียบ Hall of frame ของบุคคลตัวอย่างด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย (Thailand's sustainability icon) และ ผู้ได้รับรางวัล Sustainability Shaper Award รวมถึงเยาวชนผู้เข้ารอบการประกวดต่างๆ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
- กิจกรรมเกมส์เรียนรู้อาเซียนและ ทดสอบเกร็ดความรู้การพัฒนาด้านความยั่งยืนเพื่อชิงรางวัล
องค์การสหประชาชาติ
United Nations
นำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืนใน 3 ประเด็นหลักคือ 1 เศรษฐกิจสีเขียว 2. เพิ่มทุนมนุษย์ และ3. ลดความเหลื่อมล้ำ พบกับ 13 องค์กรในเครือขององค์การสหประชาชาติ ที่จะสลับหมุนเวียนมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับแต่ละหน่วยงาน ประกอบด้วย FAO, ILO, IOM, UNDP, UNESCO (SDG Primer with RCO), UNFPA, UN-Habitat, UNHCR, UNICEF, UNIDO, UNOPS, UNV, UN Women และ UNGCNT พลาดไม่ได้กับกิจกรรมเกมที่หลากหลายจากเครือข่ายองค์การสหประชาชาติ
ประเทศสวีเดน
SWEDEN Pavilion
เป็นการประสานความร่วมมือกันระหว่างสถานเอกอัครราชทูตสวีเดน (Embassy of Sweden) เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak Thailand) เซนทิเนล (Sentinel) และ ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ ประเทสไทย (Hitachi Energy Thailand) เพื่อให้ Sweden Pavilion เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนที่ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมและชุมชนไทย โดยมีไฮไลท์ดังนี้
- สถานเอกอัครราชทูตสวีเดน (Embassy of Sweden)
นำเสนอแคมเปญระดับโลกที่เรียกว่า ‘Re:waste - how Sweden is rethinking resources’ ซึ่งพูดถึงปัญหาเรื่องการจัดการขยะ และนำเสนอนวัตกรรมหรือแนวทางการบริหารจัดการขยะของสวีเดนที่นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) - เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak Thailand)
ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ที่มุ่งมั่นเรื่องการรีไซเคิลและการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำ นำเสนอโครงการ The Green Shelter Project ที่ร่วมมือกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก เก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ใช้แล้ว และนำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลให้เป็นแผ่นหลังคาให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม และพัฒนาไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในหมวดวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้เทียมสังเคราะห์อีโค่ อีโค่บริค วงกบประตู และอื่น ๆ ที่สามารถนำมาสร้าง “บ้าน” เพื่อมอบให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยจากภัยธรรมชาติ หรือกรณีต่างๆ ในนามของโครงการฯ - เซนทิเนล (Sentinel)
นำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดน้ำที่ช่วยลดการใช้น้ำได้ถึง 98% ในเวลาเพียง 60 วินาที - ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ ประเทศไทย (Hitachi Energy Thailand)
ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีและเป็นผู้นำงานด้านดิจิทัลที่จำเป็นในการเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่อนาคตที่ปราศจากคาร์บอน ขับเคลื่อนระบบพลังงานของโลกให้มีความยั่งยืน ยืดหยุ่น และปลอดภัยมากขึ้น พร้อมกับการสร้างสมดุลด้านคุณค่าทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
อาเซียนและองค์การระหว่างประเทศ
ASEAN Pavilion and International Organization
พบกับเรื่องราวเกี่ยวกับการรณรงค์ความหลากหลายทางชีวภาพของอาเซียน (ASEAN Biodiversity) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) และ ศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity) โดยพูดถึงการรับมือกับความหลากหลายทางชีวภาพที่กำลังสูญหายไปในภูมิภาคอาเซียน
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเวียดนาม (Ministry of Natural Resources and Environment (MONRE)
จัดแสดงผลงาน ความสำเร็จ และเนื้อหาด้าน Circular Economy ในเวียดนาม Yunus Organizations
ยูนุส (Yunus Organizations)
นำเสนอโครงการที่หลากหลาย ทั้งในด้านการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน การช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม และแพลตฟอร์มเพื่อการเชื่อมโยงชุมชน ซึ่งเป็น Strategic Pillar ของ Yunus (ABC’s: Academia & Youth, Business, and Community)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเวียดนาม (Ministry of Natural Resources and Environment (MONRE)
จัดแสดงผลงาน ความสำเร็จ และเนื้อหาด้าน Circular Economy ในเวียดนาม Yunus Organizations
ยูนุส (Yunus Organizations)
นำเสนอโครงการที่หลากหลาย ทั้งในด้านการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน การช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม และแพลตฟอร์มเพื่อการเชื่อมโยงชุมชน ซึ่งเป็น Strategic Pillar ของ Yunus (ABC’s: Academia & Youth, Business, and Community)
ยุโรปและโอเชียเนีย และองค์การระหว่างประเทศ
European and Oceanian pavilion and International Organizations
- ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand)
นำเสนอในแนวคิด “See Tomorrow First” หรือมองเห็นอนาคตก่อน ซึ่งเป็น Global Campaign ที่พูดถึง วิสัยทัศน์ของประเทศที่ต้องการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตหรือสร้างอนาคตที่ยั่งยืน และมีบริษัทจากประเทศนิวซีแลนด์ที่เข้าร่วมจัดแสดงคือ BECA ซึ่งเป็นบริษัทที่ออกแบบระบบวิศวกรรมตึกให้ ONE Bangkok โดยเน้นเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ Green Building (อาคารสีเขียว) รวมถึง บริษัท EV Maritime ผู้ออกแบบและผลิตเรือเฟอรี่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อลดการสร้างมลพิษในอากาศ และบริษัท Seen Safety ที่นำเสนอการใช้ active user เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้กับคนงานในโรงงาน - ประเทศอังการี (Hungary)
นำเสนอนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาล เช่น การบริหารจัดการขยะ การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การผลิตพลังงานหมุนเวียนและพลังงานจาก carbon-neutral และมาพร้อมกับตัวอย่างเทคโนโลยีด้านความยั่งยืนจากสองบริษัท ได้แก่ บริษัท Greehill นำเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยเฝ้าสังเกตต้นไม้ในเมืองด้วย AI เพื่อการบริหารจัดการต้นไม้ในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการช่วยรักษาต้นไม้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศน์ ลดอันตรายจากกิ่งไม้ที่อาจหักโค่น และใช้งบประมาณน้อย รวมถึง บริษัท Kuube เป็นผู้ออกแบบและพัฒนา smart street furniture ที่สามารถชาร์จไฟที่ผลิตจากพลังงานจากแสงอาทิตย์ (solar-powered) ได้ที่ตัวเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดง Smart Bench ซึ่งเป็น recycled aluminum เคยนำไปตั้งอยู่หน้าอาคาร Park venture นำมาจัดแสดงให้ชมถึง 2 ขนาดด้วยกัน คือขนาด Nano และ ขนาด Eco - สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ หรือ IFRC
นำเสนอยุทธศาสตร์สำหรับปี 2030 ได้แก่ วิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาจากวิกฤตและภัยพิบัติ ช่องว่างที่เพิ่มขึ้นในด้านสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่ดี การอพยพย้ายถิ่นและอัตลักษณ์
